Diary No. 7
Science experiences management for early childhood
Instructor Jintana suksamran
Time 13.30 - 17.30 .
Tuesday, November 22, 2558
Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
นำเสนองานคู่ คู่ของดิฉันได้นำเสนอเรื่องหิน ดิน ทราย ที่ จะใช้สอนเด็กในวิชา วิทยาศาสตร์
การเรียนรู้เรื่อง หิน ดิน ทราย
หินอยู่ในสาระที่ควรเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว
เนื้อหาที่เด็กจะเรียนรู้ได้ว่า หินคืออะไร มีรูปร่างลักษณะอย่างไร อยู่ที่ไหน
มีชนิดใดบ้าง เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร
เมื่อครูนำสาระมาพิจารณาจัดผสมผสานหรือบูรณาการแล้ว
สามารถจัดหลอมสาระการเรียนรู้อื่น ได้แก่ เรื่องสถานที่แวดล้อมเด็ก เช่น
สถานที่ใดบ้างนำหินมาใช้ก่อสร้าง เพื่อประโยชน์อะไร
หรือสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเด็ก ได้แก่ เรารู้สึกอย่างไรเมื่อสัมผัสหิน (หนัก
เบา ราบเรียบ ขรุขระ สีต่างๆ) เราเห็นรูปร่าง ลักษณะ เป็นอย่างไร (กลม แบน ใหญ่
เล็ก) หรือ สาระการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว เช่น
สิ่งต่างๆที่มนุษย์สร้างจากหิน
การสอนเรื่องทราย (Teaching Children about Sand) หมายถึง
การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้คุณสมบัติของทรายว่า
มีลักษณะเป็นเศษหินที่มีลักษณะร่วนซุย ไม่เกาะตัวกัน มีตั้งแต่ขนาดเล็กที่สุด
มีชื่อเรียกต่างๆ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องทราย
ซึ่งเป็นสาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อมตัวเด็ก
ครูจึงจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่บูรณาการกับกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ศิลปะ และภาษา เน้นให้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ฝึกความคิดของเด็ก
โดยการสังเกตและการทดลอง
ตัวอย่างการจัดกิจกรรม
ความเเตกต่าง ของหิน ดิน ทราย เนื้อสัมผัส การดูดซึมจากน้อยไปมาก เเละการไหล ผ่าน
วัตถุประสงค์
เมื่อเด็กทำกิจกรรมเสร็จแล้วสามารถรู้
1. การดูดซึมของหิน ดิน ทราย
2. การไหลผ่านน้ำของหิน ดิน ทราย
วัสดุอุปกรณ์
1. กระบะ
2. หิน ดิน ทราย
3. น้ำ
กิจกรรม
1. ให้เด็กสัมผัสของ หิน ดิน ทราย ว่ามีลักษณะเป็นอย่าง ไร
2. ให้เด็กคาดเดาว่า การทดลองการดูดซึมของ หินดิน ทราย และการไหลผ่านของน้ำ ว่า หิน ดิน ทราย ว่า สิ่งไหนจะมีการดูดซึมที่ดี ไปหาน้อย และการไหลผ่านน้ำ ของหิน ดิน ทราย ว่าสิ่งไหน จะไหลผ่านได้เร็ว ตามลำดับ
3. ทำการทดลองเพื่อหาคำตอบโดยให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรม
4. อภิปรายผลการทดลอง และสรุปให้เด็กฟังอย่างเข้าใจ
Skill (ทักษะที่ได้รับ)
ได้ร่วมการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามจากคุณครูร่วมกับผู้อื่น
Adoption( การนำไปใช้)
ใช้ในการบูรณาการการเรียนรู้ของเด็กชั้นปฐมวัยได้เเละได้รูวิธีในการสินการเรียนรู้ของเด็กในวิชาวิทยาศาสตร์
classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการตั้งใจฟังคุณครูดีมาก บรรยากาศค่อนข้างเย็น เเต่ไม่ม่โต๊ะในการนั่งเขียน
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
มาได้ทันเวลาสอนเข้าใจเนื่อหาที่คุณครูสอน
friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถามทุกคนอาจมีเสียงคุยบ้างเล็กน้อย
Teacher-Assessment (ประเมินครู)
เเต่งกายสุภาพเรียบร้อยสอนเข้าใจ มาก่อนเวลาสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น